วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์


องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์








ระบบคอมพิวเตอร์
     ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกัน ทำงานประสานกันเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์เดียวกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังนี้คือ

     1. ฮารด์แวร์ (Hardware) หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสัมผัสและมองเห็นประกอบด้วย
          1.1 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คืออุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อ ป้อนข้อมูล คำสั่ง และคำถามข้อสนเทศ ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องอ่านจานข้อมูล เป็นต้น
          1.2 หน่วยประมวลผลกลาง คือส่วนที่เป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ รับข้อมูลและคำสั่งจากอุปกรณ์รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก แล้วนำไปคำนวณหรือเปรียบเทียบคำสั่งที่ หน่วยคำนวณและตรรกะ จากนั้นส่งผลลัพธ์ ไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลักอีกครั้ง ก่อนจะนำออกแสดงทางอุปกรณ์ส่งข้อมูลออก
          1.3 อุปกรณ์ส่งข้อมูลออก คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล
          1.4 อุปกรณ์เก็บข้อมูล คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งไว้เป็นการถาวร แต่ต่างจากหน่วยความจำหลักที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดไปแม้ว่าจะมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงหรือไม่

     2. ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่ง ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ โดยทั่วไปเรียกว่า โปแกรม สามารถแบ่งได้ 2 อย่างคือ
          2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ได้แก่ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ชนิดคือ
               ก. ซอฟต์แวร์จัดระบบงาน ทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ และบังคับบัญชาให้ระบบฮาร์แวร์ของคอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ เช่น dos windows เป็นต้น
               ข. ซอฟต์แวร์แปลภาษา คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่แแปลภาษาระดับสูงที่มนุษย์เขียนขึ้นมาและเข้าใจได้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจเพื่อจะได้ทำงานตามขั้นตอนที่ต้องการได้ มีลักษณะที่ทำงานแตกต่างกัน 2 ชนิดคือ
                    - อินเตอร์พรีเตอร์ คือ แปลภาษาที่ทำการแปลภาษาโปรแกรม ทีละคำ เมื่อแปลเสร็จจะทำตามคำสั่งนั้นทันที แล้วจึงแปลคำสั่งต่อไป
                    - คอมไเลอร์ แปลภาษาที่ทำการแปลภาษาโปรแกรมที่มีอยู่ทั้งหมดนั้นก่อน แล้วจึงค่อยทำงานตามคำสั่ง
          2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือซอฟท์หรือโปรแกรมที่ไดรับการพัฒนาหรือขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมระบบเงินเดือน  ยังมีซอฟต์แวร์อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โปรแกรมสำเร็จรูป เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นำไปประยุกต์ใช้งานของตน เช่น word exel เป็นต้น

     3. บุคลากร หมายถึง บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
          1. ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หมายถึงบุคคลที่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ตนต้องการ
          2. นักคอมพิวเตอร์ หมายถึงกลุ่มที่ทำหน้าที่โดยตรงกับการออกแบบระบบและพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
               2.1 ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่ที่เป็นหัวหน้ารับผิดชอบงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด
               2.2 นักวิเคราะห์ระบบ หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่รวบรวมาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบงานและความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบใหม่
               2.3 โปรแกรมเมอร์ หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ ตามรายละเอียดที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้
               2.4 โปรแกรมเมอร์ระบบ หมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ระบบ จึงต้องมีบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เพราะต้องให้คำปรึกษาต่าง ๆ
               2.5 พนักงานเตรียมข้อมูล หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่เตรียมข้อมูลให้อยู่ในสือาข้อมูลที่สามารถจะนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้
               2.6 พนักงานควบคุมเครีองคอมพิวเตอร์ หมายถึงบุคคที่มีหน้าที่รับผิดชอบการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป

       องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์       
ระบบคอมพิวเตอร์            ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกัน ทำงานประสานกันเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์
เดียวกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังนี้คือ
         
 1. ฮารด์แวร์ (Hardware)
หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่ต่อเข้ากับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสัมผัสและมองเห็นประกอบด้วย
               1.1 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คืออุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อ ป้อนข้อมูล คำสั่ง และคำถามข้อสนเทศ ได้แก่
แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องอ่านจานข้อมูล เป็นต้น
              1.2 หน่วยประมวลผลกลาง คือส่วนที่เป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ รับข้อมูลและคำสั่งจาก
อุปกรณ์รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก แล้วนำไปคำนวณหรือเปรียบเทียบคำสั่งที่ หน่วยคำนวณ
และตรรกะ จากนั้นส่งผลลัพธ์ ไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลักอีกครั้ง ก่อนจะนำออกแสดงทางอุปกรณ์ส่ง
ข้อมูลออก
               1.3 อุปกรณ์ส่งข้อมูลออก คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล
               1.4 อุปกรณ์เก็บข้อมูล คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งไว้เป็นการถาวร แต่ต่างจาก
หน่วยความจำหลักที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดไปแม้ว่าจะมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงหรือไม่

        
2. ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่ง ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้เพื่อ
ให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ โดยทั่วไปเรียกว่า โปแกรม สามารถแบ่งได้ 2 อย่างคือ
              2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ
ได้แก่ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ
ของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ชนิดคือ
                    ก. ซอฟต์แวร์จัดระบบงาน
ทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ และบังคับบัญชาให้ระบบฮาร์แวร์ของ
คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ เช่น dos windows เป็นต้น
                    ข. ซอฟต์แวร์แปลภาษา
คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่แแปลภาษาระดับสูงที่มนุษย์เขียนขึ้นมาและเข้าใจ
ได้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจเพื่อจะได้ทำงานตามขั้นตอนที่ต้องการได้ มีลักษณะที่ทำงานแตกต่างกัน
2 ชนิดคือ             
                 - อินเตอร์พรีเตอร์ คือ แปลภาษาที่ทำการแปลภาษาโปรแกรม ทีละคำ เมื่อแปลเสร็จจะทำตาม
คำสั่งนั้นทันที แล้วจึงแปลคำสั่งต่อไป
                 - คอมไเลอร์ แปลภาษาที่ทำการแปลภาษาโปรแกรมที่มีอยู่ทั้งหมดนั้นก่อน แล้วจึงค่อยทำงานตามคำสั่ง
               2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
คือซอฟท์หรือโปรแกรมที่ไดรับการพัฒนาหรือขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์
ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมระบบเงินเดือน ยังมีซอฟต์แวร์อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า
โปรแกรมสำเร็จรูป เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นำไปประยุกต์ใช้งานของตน
เช่น word exel เป็นต้น

         
 3. บุคลากร หมายถึง บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
               1. ผู้ใช้คอมพิวเตอร์
หมายถึงบุคคลที่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ตนต้องการ
               2. นักคอมพิวเตอร์
หมายถึงกลุ่มที่ทำหน้าที่โดยตรงกับการออกแบบระบบและพัฒนาเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
                    2.1 ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่ที่เป็นหัวหน้ารับผิดชอบงานของศูนย์
คอมพิวเตอร์ทั้งหมด
                    2.2 นักวิเคราะห์ระบบ หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่รวบรวมาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบงานและความ
ต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบใหม่
                    2.3 โปรแกรมเมอร์ หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ ตามรายละเอียดที่นักวิเคราะห์
ระบบได้ออกแบบไว้
                    2.4 โปรแกรมเมอร์ระบบ หมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ระบบ จึงต้องมีบุคคลที่
มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เพราะต้องให้คำปรึกษาต่าง ๆ
                   2.5 พนักงานเตรียมข้อมูล หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่เตรียมข้อมูลให้อยู่ในสือาข้อมูลที่สามารถจะ
นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้
                   2.6 พนักงานควบคุมเครีองคอมพิวเตอร์ หมายถึงบุคคที่มีหน้าที่รับผิดชอบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ทั่ว ๆ ไป

    ระบบคอมพิวเตอร์ คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ มนุษย์และข้อมูล
   เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ ส่วนของฮาร์ดแวร์ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ หน่วยประมวลผล(Processor) หน่วยความจำ(Memory) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าและแสดงผล(Input and Output Devices) และส่วนบันทึกข้อมูล(Storage)
สารสนเทศ
(Information)


          สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้         เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ
          สารสนเทศที่พวกเราควรรู้จักเบื้องต้น ประกอบด้วย 5 หัวข้อหลัก
1. ระบบจัดการฐานข้อมูล
2. ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี
3. ระดับสารสนเทศ
4. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
5. ระบบ
ATM


1.      ระบบจัดการฐานข้อมูล
               ระบบจัดการฐานข้อมูล คือ ระบบโปรแกรมที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลใน ด้านต่างๆ ได้แก่ การให้คำจำกัดความของข้อมูลและเรคคอร์ด การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างฟิลด์ต่าง ๆ ในเรคคอร์ดการจัดการประมวลผล ปรับเปลี่ยนแก้ไขข้อมูล และจัดการกำหนดควบคุมการใช้ข้อมูลอย่างมีระบบจุดมุ่งหมายสำคัญของระบบจัดการฐานข้อมูลจำแนกออกได้เป็น 2 ด้าน คือ เพื่อจัดการควบคุมและสนับสนุนการใช้งานขององค์กรอย่างเป็นระบบ   
      - โปรแกรมประยุกต์ (Application Programs)
- ระบบการจัดการฐานข้อมูล
Database Management System(DBMS)
- กายภาพของฐานข้อมูล (Physical database)



องค์ประกอบของระบบจัดการฐานข้อมูล
          ระบบจัดการฐานข้อมูลจำแนกเป็นย่อยๆ ได้หลายส่วน โดยแต่ละส่วนจะทำงานร่วมกันได้ หรือในบางกรณีอาจเป็นงานเฉพาะส่วนย่อยๆ จากภาพประกอบแสดงองค์ประกอบหลักของระบบจัดการฐานข้อมูล สัญลักษณ์รูปทรงกระบอกแสดงองค์ประกอบต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นตัวระบบจัดการฐานข้อมูลทั้งหมด ได้แก่
Authorized User Profiles AUP เป็นองค์ประกอบด้านการจัดการควบคุมตัวผู้ใช้ระบบใครสามารถอ่านข้อมูลชุดใดได้ เช่น การกำหนดรหัสผ่าน (password) ให้กับผู้ใช้ระดับต่างๆ ในองค์กร Catalogued Queries/Report/Lable (CQRL) เป็นส่วนที่ควบคุมจัดการด้าน การเลือกค้นหาข้อมูลที่ต้องการ การทำรายงานตารางสรุปต่างๆ ซึ่งจะจัดตามคำร้องขอของผู้ใช้ระบบและออก Output ที่ต้องการ
Transaction and Screen Definition เป็นชุดโปรแกรมที่ควบคุมจัดการด้านการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ทางจอภาพ หรือทำตามคำขอต่างๆ ของผู้ใช้ระบบ
User’s Application Program เป็นชุดโปรแกรมเฉพาะด้าน สร้างเพื่อใช้งานเฉพาะภายในหน่วยงานหนึ่งในองค์การ หรือตามความต้องการเฉพาะด้านของผู้ใช้ระบบในบางระดับ Data Definition และ Store
Database เป็นส่วนสำคัญที่สุดของระบบเป็นส่วนที่เก็บ Data dictionary และตัวข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ

หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล
1. ช่วยกำหนด และเก็บโครงสร้างฐานข้อมูล (Define and Store Database Structure)
2. ช่วยดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล (Load Database)
ข้อมูลที่นำมาประมวลผลด้วยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการรับและเก็บข้อมูลไว้ในข้อมูลเพื่อใช้ใน การประมวลผล

3. ช่วยเก็บและดูแลข้อมูล (Store and Maintain Data) ข้อมูลที่เก็บในฐานข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมได้ด้วยกัน โดยมีระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นผู้ดูแลรักษาข้อมูลเหล่านั้น
4. ช่วยประสานงานกับระบบปฏิบัติการ (Operating System) เนื่องจากคอมพิวเตอร์ต้องพึ่งระบบปฏิบัติการช่วยเพื่อให้ทำงานได้ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจะคอยควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการประสานงานกับระบบปฏิบัติการในการเรียกใช้ แก้ไขข้อมูล ลบข้อมูล ออกรายงาน
5. ช่วยควบคุมความปลอดภัย (Security Control) ในระบบการจัดการฐานข้อมูลจะมีวิธีควบคุมการเรียกใช้ข้อมูล หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ใช้ในระบบจะมีวิธีควบคุมการเรียกใช้ข้อมูล หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ใช้ในระบบซึ่งสามารถเรียกข้อมูลมาแก้ไขได้แตกต่างกัน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับฐานข้อมูล
6. ช่วยจัดทำสำรองข้อมูลและการกู้คืน (Backup and Recover) ในระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการสำรองข้อมูลของฐานข้อมูลและเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับฐานข้อมูล เช่น แฟ้มข้อมูลเสียหายเนื่องจากดิสก์เสีย ระบบจัดการฐานข้อมูลจะใช้ระบบข้อมูลสำรองนี้ในการฟื้นฟู สภาพการทำงานของระบบให้สู่สภาวะปกติ

 7. ช่วยควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกับของผู้ใช้ในระบบ (Concurrency Control) ในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้หลายคนสามารถเรียกข้อมูลได้พร้อมกัน ระบบฐานข้อมูลที่มีคุณสมบัติที่มีใช้หลายคนสามารถเรียกข้อมูลได้พร้อมกันระบบฐานข้อมูลที่มีคุณสมบัตินี้ จะทำการควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันของผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกัน โดยมีการควบคุมอย่างถูกต้องเหมาะสม

8. ช่วยควบคุมความสมบูรณ์ของข้อมูล (Integrity Control) ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการควบคุมค่าของข้อมูลในระบบให้ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น เช่น รหัสนักศึกษาที่ลงทะเบียน จะต้องตรงกับรหัสนักศึกษาในข้อมูลประวัติ
9. ช่วยทำหน้าที่จัดทำดรรชนีข้อมูล (Data Directory) ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการสร้างดรรชนีข้อมูลเมื่อมีการกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูลขึ้นมาเพื่อเก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลเช่น ชื่อตาราง ชื่อฟิลด์ ดรรชนีต่างๆ เป็นต้น

การสืบค้นฐานข้อมูล

        
การสืบค้น หมายถึง การค้นหาข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จุดมุ่งหมายของการเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล จุดหลักคือ ง่ายต่อการสืบค้น เมื่อเวลาต้องการนำข้อมูลมาใช้ ชุดคำสั่งสำหรับการจัดการฐานข้อมูล เป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการค้นหา(Select) แก้ไข (Update) เพิ่มเติม (Insert) และ การลบ (Delete)

          SQL (Structure Query Language) เป็นชุดคำสั่งที่ใช้จัดการฐานข้อมูลและข้อมูลในฐานข้อมูลชุดคำสั่ง SQL นิยมใช้มากในระบบฐานข้อมูลแบบตารางสัมพันธ์ ชุดคำสั่งที่ใช้ใน การจัดการกับฐานข้อมูลที่สำคัญๆ มี 4 คำสั่ง คือ
1. (Select)
ใช้สำหรับการเลือกหาข้อมูลหรือเรคคอร์ดที่ต้องการในฐานข้อมูล
2. (Update)
ใช้เมื่อต้องการแก้ไขข้อมูลหรือเรคคอร์ด
3. (Delete)
ใช้เมื่อต้องการการลบข้อมูลหรือเรคคอร์ด
4. (Insert) ใช้เมื่อต้องการเพิ่มเติมเรคคอร์ดหรือข้อมูลใหม่



2.      ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี
          เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา วิธีจัดการฐานข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ การจัดการฐานข้อมูลจึงเป็นศาสตร์ที่มีการศึกษาเล่าเรียนกันในหลายๆระดับ  การจัดการฐานข้อมูลจะยึดหลักการที่สำคัญคือ
        1) ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม โดยกระจายอยู่ในหลาย ๆ แฟ้ม มักจะพบปัญหาของการปรับแก้ไขข้อมูล เพราะต้องคอยปรับปรุงข้อมูลให้ครบทุกแฟ้ม มิฉะนั้นจะพบกับปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งทำให้การบริหารข้อมูลทำได้ยากข้อมูลจึงควรได้รับการออกแบบและเก็บอยู่ในฐานข้อมูลที่ใดที่เดียว เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการกำหนดรูปแบบข้อมูลจะต้องทำให้ข้อมูลทั้งฐานข้อมูลเป็นรูปเดียวกัน เช่น การกำหนดข้อมูลชื่อ ให้ใช้ชื่อแล้วเว้นช่องว่างจึงเป็นนามสกุล และมีตำแหน่งต่อท้ายแทนการขึ้นต้น เช่น พ.ท. สมชาย ดีใจ เก็บเป็น สมชาย ดีใจ พ.ท. เป็นต้น เมื่อมีการกำหนดรูปแบบข้อมูลที่ชัดเจน และถือปฏิบัติใช้ทั้งฐานข้อมูลก็จะลดปัญหาการจัดการฐานข้อมูลลงไปได้มาก ทำให้ข้อมูลเป็นกลางและใช้ร่วมกันได้ นอกจากนี้ยังมีหลายสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องคำนึงถึงในการออกแบบฐานข้อมูล
          ข้อมูลจะต้องใช้งานได้กับผู้ใช้หลาย ๆ ประเภท หรือหลายแบบ เช่น ข้อมูลในฐานข้อมูลของจังหวัด จะต้องใช้ได้ทุกอำเภอ
          ความต้องการข้อมูลของแต่ละหน่วยงานอาจมีรายละเอียดที่ต่างกัน เช่น แผนกขายต้องการชื่อที่อยู่ของลูกค้าเพื่อติดต่อส่งเสริมการขาย แผนกติดตามหนี้ต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติหนี้ค้างของลูกค้า
          การเรียกชื่อข้อมูล อาจจะเรียกแตกต่างกัน เช่น ชื่อสินค้า อาจเรียกได้หลายอย่างในชื่อสินค้าเดียวกัน
        2) กำหนดมาตรฐานข้อมูล ในการสร้างฐานข้อมูลจะต้องให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นมาตรฐาน มีการกำหนดรหัสที่เป็นมาตรฐาน มีการกำหนดคำหลัก (keyword) หรือค่าที่ใช้แทนข้อมูลอย่างเดียวกันเพื่อให้ได้ความหมายต่อการใช้งานที่ดี
          3) มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลจำเป็นต้องจัดแบ่งระดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อกำหนดผู้ใช้ มีการควบคุมข้อมูล เพื่อบ่งบอกว่าใครจะเป็นผู้แก้ไขหรือข้อมูลได้บ้าง มีการบันทึกประวัติการแก้ไขข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ข้อมูลที่จัดเก็บนั้นอาจมีความสำคัญ ดังนั้นการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นอาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้
          4) มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นระบบที่ข้อมูล และฐานข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ทำให้สามารถใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลใด ๆ จัดการฐานข้อมูลได้ การออกแบบให้ข้อมูลเป็นอิสระนี้ทำให้ข้อมูลใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรูปแบบ
          5) รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง แต่เดิมมีการเก็บข้อมูลแยกเป็นแฟ้มกระจัดกระจาย จึงต้องเก็บข้อมูลด้วยเทป แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นฐานข้อมูลกลาง ทำให้ระบบการทำงานใช้ข้อมูลร่วมกันได้




          การดำเนินงานฐานข้อมูลจะต้องมีการจัดการเตรียมฐานข้อมูลและบริหารข้อมูล โดยจัดแบ่งแยก ปรับปรุงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องหน้าที่หลักของผู้บริหารฐานข้อมูล จึงประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อประสานงานกับแหล่งข้อมูลและที่มาของข้อมูล จึงประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อประสานงานกับแหล่งข้อมูลและที่มาของข้อมูลตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แบ่งกลุ่ม จัดลำดับ กำหนดรหัสข้อมูล สรุปผลทำรายงาน คำนวณเก็บรักษาข้อมูลโดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและเชื่อถือได้ของข้อมูล การค้นหาข้อมูล การสำรวจข้อมูล และเผยแพร่แจกจ่ายข้อมูล


คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
     
          ในการจัดการเพื่อให้องค์การบรรลุถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่องค์การตั้งไว้นั้น  ดังที่กล่าวมาแล้วว่าข้อมูลและสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทุกองค์การ ทั้งนี้สารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

     1.  ความเที่ยงตรง (Accuracy) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ดังนั้นประสิทธิผลของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้องหรือความเที่ยงตรง ย่อมส่งผลกระทบทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย

     2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) นอกเหนือจากสารสนเทศขององค์การจะต้องมีความเที่ยงตรงหรือความถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติของการที่สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการบริหารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศด้านการขาย การผลิต ตลอดจนด้านการเงิน ถ้าผู้บริหารได้รับมาล่าช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อ        ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานของผู้บริหารที่จะลดลงตามไปด้วย

     3.  ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศขององค์การที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง การมีสารสนเทศที่มีปริมาณมาก ไม่ได้หมายถึงการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงาน สารสนเทศที่มีมากเกินไปอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับการมีสารสนเทศที่มีปริมาณน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ไม่ได้สารสนเทศที่สำคัญครบเพียงพอทุกด้านที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้มีสารสนเทศครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะทำการตัดสินใจได้ เช่น จะตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการใช้สินค้า ปริมาณสินค้าคงเหลือ ราคาต่อหน่วย แหล่งผู้ผลิตค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ระยะเวลารอคอยของสินค้าแต่ละชนิด ดังนั้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับสารสนเทศในทุกเรื่อง การขาดไปเพียงบางเรื่องจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจอย่างมากเป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ไม่ได้หมายความว่ามีสารสนเทศมากเฉพาะในบางด้าน ขณะที่สารสนเทศในบางด้านไม่มีหรือมีไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ แต่จะต้องได้รับสารสนเทศที่สำคัญครบในทุกด้านที่ทำการตัดสินใจ

     4.  การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ดังนั้นในการที่องค์การจะออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การนั้น การสอบถามความต้องการของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น สนเทศในการบริหารการผลิต การตลาด และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

     5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะที่สามารถจะตรวจสอบได้โดยเฉพาะแหล่งที่มา การจัดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การตัดสินใจได้เกิดความรอบครอบ การที่ผู้บริหารมองเห็นสารสนเทศบางเรื่องแล้วพบว่าทำไมจึงมีค่าที่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป อาจต้องตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้มา ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้การติดสินใจเกิดความผิดพลาด
3.      ระดับสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศระดับบุคคล          เป็นระบบที่ช่วยให้แต่ละบุคคล สามารถทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จเป็นเครื่องช่วยในการทำงาน โดยที่พนักงานจะต้องเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับหน้าที่ของตน ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมก็ได้พัฒนาให้มีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้านมาขึ้น เช่น โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database) โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) โปรแกรมจัดทำและตกแต่งรูปภาพ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พนักงานบัญชีก็ควรที่จะเลือกใช้โปรแกรมตารางทำงานหรืโปรแกรมบัญชี
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม
               วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มก็คือ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลร่วมกันหรือการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกัน ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานนั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วระบบสารสนเทศกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายแลน (Local Area Network:Lan) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้เป็นอย่างดี และการเก็บข้อมูลอยู่ที่ศูนย์กลางที่เรียกว่า (File Sever) เมื่อผู้ใดต้องการใช้ก็สามารถเรียกข้อมูลนั้นมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อต้องมีการแก้ไขข้อมูล เมื่อผู้อื่นเรียกใช้ข้อมูลนั้นก็จะได้รับข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขแล้วทันที นอกจากนี้ การใช้ระบบสารสนเทศระดับกลุ่มนี้ยังมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนในการทำงานอีก เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การจัดฐานข้อมูล การประชุมทางไกล (Video conference) การใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกันเป็นต้น
ระบบสารสนเทศระดับองค์กร
                 เปรียบเสมือนการเอาระบบสารสนเทศระดับกลุ่มมารวมเข้าด้วยกันเพราะระดับสานสนเทศระดับองค์กรนี้เป็นภาพรวมของหลายๆ แผนก เพื่อสนับสนุนงานด้านการบริหารและการจัดการให้สะดวกยิ่งขึ้น การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็อาจจะเชื่อมเครือข่ายในระดับกลุ่มเข้าด้วยกัน แต่ระบบสารสนเทศระดับองค์กรนี้จะต้องมีการจัดการฐานข้อมูลเพื่อช่วยดูแลข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร






4.     องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

-    ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
-    ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
-    ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
-    บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ



องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ    
มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน


ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ
      1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์) 2. ซอฟต์แวร์
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

               องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ  ซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน  การจัดการ  และการปฏิบัติการของบุคคล  ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับกลุ่ม หรือระดับองค์กร ไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีก รวมเป็น 5 องค์ประกอบ ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดไม่ได้ คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน


ฮาร์ดแวร์ ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของชุดคำสั่งที่สั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการ โดยการว่าจ้างบริษัทที่รับพัฒนาซอฟต์แวร์หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ เป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องถูกต้อง ทันสมัย มีการกลั่นกรองตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
บุคลากร ในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์การที่มีความซับซ้อนมาก อาจจะต้อง
ใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน


http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/atm_net.htm


5.       ระบบ ATM

           
          ATM เป็นระบบสื่อสารข้อมูลที่ใช้รูปแบบการสื่อสารเป็นแบบ แพ็กเก็จ เหมือนเช่นในเครือข่าย X.25 หรือระบบ LAN อื่น ๆ เช่น อีเทอร์เน็ตโทเกินริง แต่การสื่อสารเป็นแบบอะซิงโครนัสกล่าวคือ ตัวรับและตัวส่งใช้สัญญาณนาฬิกาแยกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน ATM ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ไม่ใช่ระบบการเบิกถอนเงินสด แต่ATM มาจากคำย่อของ Asynchronous Transfer Mode
          สิ่งที่ ATM แตกต่างจากระบบ แพ็กเก็จสวิตชิ่งอื่น ๆ คือ ATM ส่งข้อมูลด้วยขนาดของแพ็กเก็จที่ทุกแพ็กเก็จมีจำนวนข้อมูลเท่ากันเสมอ แพ็กเก็จของ ATM มีขนาด 53 ไบต์ โดยให้ 5 ไบต์แรกเป็นส่วนหัวที่จะบอกรายละเอียดของแอดเดรสและมีส่วนข้อมูลข่าวสารอีก 48 ไบต์ตามมา เราเรียกแพ็กเก็จของ ATM ว่า " เซล "
          การออกแบบให้เซลข้อมูลมีขนาดสั้นก็เพื่อความเหมาะสมที่จะประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางขึ้นคือ ใช้รับส่งข้อมูล เสียง ภาพหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการส่งผ่านกันและกันด้วยความเร็วสูง


เปรียบเทียบระหว่าง เครือข่าย ATM และ ระบบอินเทอร์เน็ต


เครือข่าย ATMแบบ WAN


           การรับส่งสัญญาณ
ATM จึงใช้ช่องสื่อสารที่มีความเร็วต่าง ๆ ได้ซึ่งผิดกับ LAN เช่น อีเทอร์เน็ต ใช้ความเร็ว 10 Mbps หรือโทเกนริงใช้ 16 Mbps แต่ ATM ใช้กับความเร็วได้ตั้งแต่ 64 Kbps, 45 Mbps, 155 Mbps, 622 Mbps หรือ สูงกว่าก็ได้
เครือข่าย ATM เป็นเครือข่ายที่ประยุกต์ได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบ LAN หรือ WAN ใช้กับตัวกลางได้ทั้งแบบลวดทองแดงหรือเส้นใยแสง แต่โครงสร้างการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโหนดเป็นแบบสวิตซ์ที่เรียกว่า ATM Switch การส่งผ่านข้อมูลแต่ละเซลจึงขึ้นกับแอดเดรสที่กำหนด จากโครงสร้างการผ่านข้อมูลแบบสวิตซ์ด้วยเซลข้อมูลขนาดเล็กของ ATM จึงทำให้เหมาะกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ WAN ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานที่ต้องการใช้ความเร็วข้อมูลสูง เครือข่าย WAN ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถใช้เทคนิคของ ATM ได้เช่นกัน งานประยุกต์ที่กำลังกล่าวถึงกันมากอย่างหนึ่งคือ ระบบหลายสื่อ หรือที่เรียกว่า Multi-Media ระบบการประยุกต์นี้ประกอบด้วย การประมวลผล และส่งข้อมูล ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียงข้อมูลตัวอักษร ฯลฯ
            ระบบ
ATM จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่จะทำให้ระบบหลายสื่อประสบความสำเร็จในการใช้งานต่อไปในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น